การติดตั้งและใช้งาน PSU12-Sritrang
คำเตือน: รหัสผ่าน 123456 และอื่นๆ รวมทั้ง radius secret ที่ใช้ ตั้งขึ้นเพื่อให้สะดวกเท่านั้น หากนำไปติดตั้งใช้งานจริง ต้องเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นและจดจำไว้
- รองรับการโคลนนิ่ง BIOS (MS-DOS partitions) เท่านั้น
- ทดสอบกับ ubuntu server รุ่น 12.04, 14.04, 16.04
- ทดสอบกับ ubuntu server รุ่น 18.04 (ที่เลือกใช้ ifconfig)
- ทดสอบกับ ubuntu server รุ่น 20.04 (ที่เลือกใช้ ifconfig) ในรุ่นนี้ Hard disk partition จะใช้ค่า default คือ BIOS GPT จะมี 2 partition โดยที่ partition ที่ 1 จะเป็น BIOS boot และ partition ที่ 2 จะเป็น Linux filesystem
- ทดสอบกับ sysresccd 3.7.0 - sysresccd 5.1.2
- มีอุปกรณ์ cisco บางรุ่นอาจใช้ PXE ไม่ได้ ต้องตั้งค่าให้ port-fast ทำงาน ดูเพิ่มเติมตามเวบ
http://www.linuxquestions.org/questions/linux-server-73/pxe-server-issue-why-do-i-need-to-enable-port-fast-556008/ - มีเมนูให้เลือกติดตั้ง disk type SATA (sd?) หรือ M.2 SSD (nvm)
- ChangeLog
เนื้อหา
1 เลือกวิธีการติดตั้ง PSU12-Sritrang server1.1 แบบที่ 1 ใช้แผ่น DVD-ROM สำหรับติดตั้งแบบ offline
1.2 แบบที่ 2 ใช้ชุดคำสั่ง PSU-Installer สำหรับติดตั้งแบบ online
2 ตั้งค่า server ครั้งแรก
3 ขั้นตอนที่เกี่ยวกับการโคลนนิง
3.1 เตรียม partition เครื่องต้นฉบับ (Windows 7)
3.2 เตรียมต้นฉบับ Windows
3.2.1 ตั้งค่าเพื่อให้ server มาควบคุม Windows ก่อน cloning
3.3 เตรียมต้นฉบับ Linux
3.4 การโคลนนิ่ง
3.5 คำแนะนำกรณีมี Windows มากกว่า 1 partition
3.6 วิธีตั้งบูตสำหรับ Linux Mint
3.7 วิธีซ่อน partition ที่เป็น Windows เมื่อตั้งบูต Linux Mint
4 การควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Control PC)
5 ขั้นตอนเกี่ยวกับการทำงานในฝั่ง server
5.1 การสร้าง zone ใหม่
5.2 การสำรองข้อมูลและการย้ายไฟล์เพื่อทำเครื่องใหม่
5.3 รายงานการใช้เครื่อง
5.4 หากเซิร์ฟเวอร์อัปเดตไม่ได้เพราะอะไร
5.5 วิธีเปลี่ยนรูปภาพที่เห็นตอน Windows Client บูต
5.6 ขั้นตอนการเพิ่มฮาร์ดดิสก์สำหรับเป็นพื้นที่ /var/www
5.7 การใช้งาน diskless ทำเครื่อง kiosk
5.8 เมื่อเครื่องลูก boot แล้วค้างไม่ขึ้นรูป penguin
5.9 การเชื่อมต่อกับ RADIUS server
เลือกวิธีการติดตั้ง PSU12-Sritrang server
การติดตั้งจะมี 2 วิธี
แบบที่ 1 ใช้แผ่น DVD-ROM สำหรับติดตั้งแบบ offline
แผ่นนี้ชื่อ sysresccd-x.y.z-nn.nn-dvd-psu12-sritrang-server-autopartition-offline-yyyy-mm-dd.iso
โดยที่ x.y.z คือ เลขรุ่นของ sysresccd และ nn.nn คือ เลขรุ่นของ ubuntu server
แผ่นนี้จะติดตั้ง ubuntu server พร้อมทั้งซอฟต์แวร์ โดยไม่ต้องต่อเน็ต จัดการแบ่ง partition ของ hard disk ลูกแรกที่พบ (/dev/sda) และติดตั้งจากไฟล์ psu12-sritrang.tgz (ubuntu server 16.04) ที่เก็บอยู่ในแผ่น
จะมีขั้นตอนที่จะต้องเลือกทำ
1.1 แบ่ง partition และติดตั้งแบบ auto
1.2 แบ่ง partition และติดตั้งแบบ manual
รายละเอียดดังนี้
1.1 แบ่ง partition และติดตั้งแบบ auto
- download ไฟล์ .iso ล่าสุด ที่นี่
รุ่น ubuntu 20.04 https://ftp.psu.ac.th/pub/psu12-sritrang/psu12-sritrang-server-latest.iso
หรือเข้าไปที่ http://ftp.psu.ac.th/pub/psu12-sritrang/ เพื่อเลือกดู - boot ด้วย แผ่น DVD-ROM ที่ download มานั้น
จะเข้าสู่ระบบปฏิบัติการของ system rescued cd และจะมาหยุดอยู่ที่ dialog box ข้อความว่า
This CD is going to automatically create partitions on hard disk and install PSU12-Sritrang server
Answer 'Yes' will erase all data in hard disk
Answer 'No' will startx to manual partition hard disk - เลือก Yes และกดแป้น Enter เพื่อล้างฮาร์ดดิสก์และแบ่ง partition ให้ด้วย (ซึ่งหากฮาร์ดดิสก์มีข้อมูลที่ยังไม่ได้สำรองให้ตอบ No)
เมื่อการติดตั้งสิ้นสุดลง จะปิดเครื่องอัตโนมัติ
หรือ
เลือก No และกดแป้น Enter เพื่อจะทำขั้นตอน 1.2 แบ่ง partition และติดตั้ง แบบ Manual (อยู่ด้านล่าง) - แล้วให้เปิดเครื่องเองอีกครั้ง ให้นำแผ่น DVD ออกจากช่อง DVD-ROM Drive
- ไปทำหัวข้อ ตั้งค่า server ครั้งแรก ด้านล่างนี้
หรือ
1.2 แบ่ง partition และติดตั้งแบบ Manual
สำหรับ ubuntu server 16.04 และ 18.04
- หลังจากเลือก No เมื่อ boot ด้วย แผ่น DVD-ROM ที่ download มาแล้วนั้น
- หลังจากนั้นจะเข้าสู่ X Windows โดยอัตโนมัติ > คลิกปุ่ม Use default config
- คลิกเมนู Applications Menu > คลิกเลือก Run Program... > พิมพ์ชื่อคำสั่ง gparted
สำหรับ ubuntu 16.04
แบ่ง partition ที่ 1 = เท่าไหร่ก็ได้ ชนิด EXT4 และให้เหลือพื้นที่ linux-swap = 1-2 เท่าของ RAM
สำหรับ ubuntu 18.04
แบ่ง partition ที่ 1 = เท่าไหร่ก็ได้ ชนิด EXT4 และไม่ต้องมี partition สำหรับ linux-swap แล้ว - คลิกเมนู Applications Menu > คลิกเลือก Terminal Emulation
- พิมพ์ bash /livemnt/boot/clonedownpsu12-sritrang-offline.sh กด Enter
- รอสักครู่จนเสร็จ จะปิดเครื่องให้เอง
- ให้นำแผ่น DVD ออกจากช่อง DVD/CD-ROM Drive แล้วให้เปิดเครื่องเองอีกครั้ง
- ไปทำหัวข้อ ตั้งค่า server ครั้งแรก ด้านล่างนี้
สำหรับ ubuntu server 20.04
- หลังจากเลือก No เมื่อ boot ด้วย แผ่น DVD-ROM ที่ download มาแล้วนั้น
- หลังจากนั้นจะเข้าสู่ terminal
แบบที่ 2 ใช้ชุดคำสั่ง PSU-Installer สำหรับติดตั้งแบบ online
ผู้ใช้งานติดตั้ง ubuntu server เอง เสร็จแล้วทำตามการติดตั้งตามเอกสาร PSU-Installer หัวข้อ ติดตั้ง_psu12-sritrang-cloning_บน_ubuntu
ตั้งค่า server ครั้งแรก
- เมื่อเปิดเครื่อง จะพบหน้าจอ ubuntu login:
พิมพ์ mama <Enter>
Password : 123456 <Enter> เพื่อเข้าระบบ (ขณะที่พิมพ์ password จะไม่มีอะไรแสดง ไม่ต้องตกใจ เป็นเรื่องปกติ ของ linux เป็นเรื่องของความปลอดภัย) - จะพบหน้าต่าง "Switch to Root User" ให้เลือก
เลือก Yes เพื่อเข้าทำงาน
เลือก No เพื่อออก - เมื่อเลือก yes จะมีคำถาม [sudo] password for mama: ให้พิมพ์ 123456 อีกครั้ง (ค่า default ซึ่งต้องเปลี่ยนรหัสผ่านเมื่อใช้งานจริง)
- โปรแกรมจะตรวจสอบว่าเป็นการติดตั้งเสร็จใหม่ๆ ก็จะขึ้นหน้าจอให้ใส่ค่าเริ่มต้น
This is the first time for PSU12-Sritrang Installation.
Please assigned the following information.
Enter IP Address for Subnet: คือ เลข network เช่น 192.168.1.0
Enter IP Address for NetMask: คือ เลขที่บอกขนาด network เช่น 255.255.255.0
Enter IP Address for Router (Gateway): คือ คือ หมายเลขไอพีของ port ที่เป็นอุปกรณ์ทางออกของ network วงนี้ เช่น 192.168.1.1
Enter IP Address for This Server: คือ หมายเลขไอพีของ server ตัวนี้
Enter IP Address for Name Server 1: คือ หมายเลขไอพีของ dns server ตัวแรก ข้อมูลนี้จะส่งไปให้พร้อม dhcp ip ให้แก่ client
Enter IP Address for Name Server 2: คือ หมายเลขไอพีของ dns server ตัวที่สอง ใช้ซ้ำกับตัวแรกได้ถ้ามี dns server ตัวเดียว ข้อมูลนี้จะส่งไปให้พร้อม dhcp ip ให้แก่ client - เลือก OK โปรแกรมจะไปแก้ไขค่าในแฟ้มต่างๆที่เกี่ยวข้อง และจะ reboot เครื่อง server โดยอัตโนมัติ
จะนับถอยหลัง 20 วินาที ก่อน reboot ถ้ามีการเปลี่ยนใจ กด ctrl+c ยกเลิกได้ - ให้ login เข้าใช้งานอีกครั้ง
- แล้วจะเข้าสู่หน้าต่าง "Select ZONE (/root/scripts/mainmenu.sh)" เพื่อกำหนดค่าการทำงาน
ค่าเริ่มต้น จะมี zone1 มาให้ เราสามารถสร้าง zone2 ถึง zone9 เพิ่มได้ (ดูรายละเอียดด้านล่าง)
พบคำว่า ZONE1 ...หรือ หลายๆ ZONE แล้วแต่ว่า admin สร้างไว้กี่ ZONE เมือ enter แล้ว ก็จะพบกับ menu มากมาย - จบขั้นตอนการติดตั้ง PSU12-Sritrang server
- คำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยน password ของ mama คือ
ให้กด Esc ออก หรือ เลื่อนไปที่คำว่า Cancel กด Enter เพื่อออกจาก mainmenu
พิมพ์คำสั่ง passwd mama
Enter new UNIX password: ใส่ครั้งที่ 1
Retype new UNIX password: ใส่ครั้งที่ 2 ให้เหมือนครั้งที่ 1 - การกลับเข้าสู่โปรแกรมให้พิมพ์คำสั่ง bash mainmenu.sh และกด Enter
- อ่านต่อเรื่อง ขั้นตอนหลังจากทำ PSU12-Sritrang server เสร็จแล้ว (อยู่ด้านล่าง ใต้หัวข้อ การใช้งาน PSU12-Sritrang)
คำเตือน ใน PSU12-Sritrang server นี้มี username ที่ต้องเปลี่ยนรหัสผ่านเพื่อความปลอดภัยของท่านเอง ดังนี้
- username ชื่อ mama
- username ชื่อ papa
- username ชื่อ prnews
- username ชื่อ sendfile
- radius secret (share secret) ใน /etc/freeradius/clients.conf
ขั้นตอนที่เกี่ยวกับการโคลนนิง
เป็นขั้นตอนหลังจากทำ PSU12-Sritrang server เสร็จแล้ว
เตรียม partition เครื่องต้นฉบับ (Windows 7)
- ขั้นตอนเตรียม partition เครื่องต้นฉบับ Windows ด้วยแผ่น sysresccd เวอร์ชั่น 5.1.2
- แนะนำตัวอย่างสร้าง hard disk เพื่อเตรียมต้นฉบับสำหรับเครื่อง computer ที่เป็น Windows
เลือกสร้าง 2 partition สำหรับ Windows และ data ดังนี้
/dev/sda1 เป็น primary, ntfs, boot ขนาดตามต้องการ
/dev/sda2 เป็น extended ที่เหลือทั้งหมด
/dev/sda5 เป็น logical, ntfs ขนาดตามต้องการ
- ตัวอย่างสร้าง hard disk ตามข้อกำหนดจำนวน primary partition สูงสุดที่มีได้ ดังนี้
/dev/sda1 เป็น primary, ntfs, boot ขนาดตามต้องการ
/dev/sda2 เป็น primary, ntfs, hidden ขนาดตามต้องการ
/dev/sda3 เป็น primary, fat32, hidden ขนาดตามต้องการ
/dev/sda4 เป็น extended ที่เหลือทั้งหมด
/dev/sda5 เป็น logical, ntfs ขนาดตามต้องการ
/dev/sda6 เป็น logical, linux-ext4 ขนาดตามต้องการ
/dev/sda7 เป็น logical, linux-swap ขนาด 1-2 เท่าของ RAM
เตรียมต้นฉบับ Windows
เราจะต้องทำขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
1. ขั้นตอนปรับแต่ง Windows ให้ใช้ user ที่มีสิทธิเทียบเท่า Administrator
2. ขั้นตอนตั้งค่า User Profile ให้กับ Windows เพื่อให้ผู้ใช้แต่ละคนไม่ต้องใส่ค่าเริ่มต้นของโปรแกรมทุกครั้ง
3. ขั้นตอนติดตั้งโปรแกรม Cygwin เพิ่มลงใน Windows
4. ขั้นตอนติดตั้ง script เพื่อจัดการควบคุมเครื่อง เช่น เรื่อง change computer name และ สำหรับ shutdown เครื่องลูก รวมถึงการส่ง send message และ send file ไปยังเครื่องลูก และ ขั้นตอนตั้งค่า PSU-ticker เพื่อเก็บ log การเข้าใช้งานเครื่องลูก
5. ขั้นตอนติดตั้งโปรแกรม pGina เพิ่มลงใน Windows และตั้งค่าใช้ username จาก ldap server หรือ radius server
ซึ่งได้เขียนวิธีการไว้ให้แล้ว เตรียม Windows สำหรับ cloning
ตั้งค่าเพื่อให้ server มาควบคุม Windows ก่อน cloning
- เลือกเมนู windowsconfig
ถ้าใช้ user ชื่อ john ก็ใส่ชื่อ john แทนคำว่า Administrator
(เมนู windowsconfig มีใน versionscript 2018-04-25 เป็นต้นไป จำเป็นต้องทำ checkversionandupdatescripts) - ตั้งค่าครั้งแรก
เข้าหน้าจอ zone1: Select your job เลือก sshkeygenforserver กด Enter ไปเรื่อยๆ
ต่อไปเข้าหน้าจอ zone1: Select your job เลือก sshkeysendtoclient
จะมีหน้าจอเพื่อให้ใส่ IP Address ของเครื่อง PC ที่เป็นต้นฉบับ - ทดสอบการใช้งาน ควบคุมการ shutdown PC
เข้าหน้าจอ zone1: Select your job เลือก othermenu
เข้าหน้าจอ zone1: Select your job เลือก Shutdown
ต่อไปจะมีหน้าจอเพื่อให้เลือก ให้กดแป้น space bar เลือก ALLzone1 หรือ เลือกกี่เครื่องก็ได้, กดแป้น Enter
ให้ระบุค่าวินาทีที่จะเริ่มทำ
เตรียมต้นฉบับ Linux
- อ่านเรื่อง เตรียมต้นฉบับ Linux Mint สำหรับ cloning
การโคลนนิ่ง
การโคลนนิงด้วย PSU12-Sritrang เราจะต้องทำขั้นตอนย่อยๆดังนี้
1. จะมีขั้นตอน backup ต้นฉบับ Windows โดยการเลือก partition ที่จะนำขึ้นไปเก็บเป็น image file ชนิด .tgz บน PSU12-Sritrang server
2. จะมีขั้นตอน restore จาก image file ชนิด .tgz ลงเครื่องลูก
ซึ่งได้เขียนวิธีการไว้ให้แล้ว อ่านเรื่อง การโคลนนิงด้วย PSU12-Sritrang
คำแนะนำกรณีมี Windows มากกว่า 1 partition
- อ่านเรื่อง การทำงานเมื่อต้องการมี Windows 2 partition หรือมากกว่า
- อ่านเรื่อง ตัวอย่างการติดตั้ง Windows 10 ลงใน 2 partitions
วิธีตั้งบูตสำหรับ Linux Mint
ให้ copy 2 files นี้ (ให้เปลี่ยนเลขตามที่เห็นล่าสุด 3.16.0-38 นี้สำหรับ Linux Mint 17.3)
initrd.img-3.16.0-38-generic
vmlinuz-3.16.0-38-generic
จาก /boot ใน Linux Mint ไปไว้ที่เครื่อง PSU12-Sritrang server ที่ไดเรกทอรี /var/lib/tftpboot/boot/
แล้วแก้ไขไฟล์ /var/lib/tftpboot/zone1/menu-zone1-6.mnu เพื่อให้เป็นเลขตรงกับที่ copy มา แก้ที่บรรทัดนี้
เช่น แก้ไขเลขเดิมเป็นเลขใหม่แล้ว ได้ดังนี้
KERNEL /boot/vmlinuz-3.16.0-38-generic
APPEND initrd=/boot/initrd.img-3.16.0-38-generic root=/dev/sda6 ro
วิธีซ่อน partition ที่เป็น Windows เมื่อตั้งบูต Linux Mint
แก้ไขไฟล์ /etc/grub.d/10_linux
ถ้ามี Windows อยู่ใน partition ที่ 1 และต้องการซ่อน ให้เพิ่มบรรทัดนี้
echo " parttool (hd0,1) hidden+"
ถ้ามี Windows อยู่ใน partition ที่ 2 และต้องการซ่อน ให้เพิ่มบรรทัดนี้
echo " parttool (hd0,2) hidden+"
ถ้ามี Windows อยู่ใน partition ที่ 3 และต้องการซ่อน ให้เพิ่มบรรทัดนี้
echo " parttool (hd0,3) hidden+"
ค้นหาส่วนนี้ ประมาณบรรทัดที่ 104 เพื่อเพิ่มบรรทัดเพื่อซ่อน partition
linux_entry () { ... ... }
ไปที่บรรทัดที่ 132 ให้เพิ่มบรรทัด
echo " # Start Wiboon added" echo " parttool (hd0,1) hidden+" echo " parttool (hd0,2) hidden+" echo " parttool (hd0,3) hidden+" echo " # End Wiboon added"
ก่อนบรรทัด if นี้
if [ "$quick_boot" = 1 ]; then echo " recordfail" | sed "s/^/$submenu_indentation/" fi
จากนั้นต้องรันคำสั่ง sudo update-grub
การควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Control PC)
เราจะทำงานประจำวันในการควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการใช้งานเมนูชื่อ othermenu
- Shutdown เพื่อ สั่งปิดเครือง ทำดังนี้ เลือก client 1 , 2 , 3 ... หรือ all client แล้วใส่ เวลาเป็นวินาที (60 วินาที = 1 นาที)
- Restart เพื่อ สั่ง reboot เครื่องใหม่ ทำดังนี้ เลือก client 1 , 2 , 3 ... หรือ all client แล้วใส่เวลาเป็นวินาที (60 วินาที = 1 นาที) ,
- Sendmessage เพื่อ ส่ง message ให้ client ทำดังนี้ เลือก client 1 , 2 , 3 ... หรือ all client แล้วใส่ข้อความที่ต้องการส่ง (ที่ client จะมี popup windows แสดงข้อความประมาณ 10 วินาที และจะปิดเอง automatic ถ้าต้องการปิดเอง click close ได้เลย)
- Sendfile เพื่อ ส่ง file จาก server ไป client ทำดังนี้ ทำ 2 ส่วน
ที่ client (windows)
- ใช้ program upload file จาก windows ขึ้นไปเก็บ ใน folder
- ใช้ login prnews : password 123456
- upload เก็บใน folder sendfile
ที่ server (psu12-sritrang)
- เลือก menu Sendfile
- เลือก client 1 , 2 , 3 ... หรือ all client
- เลือก file ที่ต้องการ ใช้ปุ่มลูกศร ขึ้นลง ซ้ายขวา ถ้าต้องการ file ใด ให้กด spacebar แล้วกด enter
- ระบุ drive ปลายทาง (drive c = /cygdrive/c, drive d = /cygdrive/d) แล้วตามด้วย folder เช่น /cygdrive/c/Users/Administrator/Desktop
ลองทดสอบแล้ว case sensitive ไม่มีปัญหา ตัวใหญ่ตัวเล็กก็ได้
- รอ program ทำงานจนเสร็จ - Getfile เพื่อ รับ file จาก windows ไป server ทำดังนี้ ทำ 2 ส่วน
ที่ client (windows)
- ใช้ program upload file จาก windows ขึ้นไปเก็บ ใน folder
- ใช้ login prnews : password 123456
- upload เก็บใน folder sendfile
ที่ server (psu12-sritrang)
- เลือก menu Getfile
- เลือก client 1 , 2 , 3 ... หรือ all client
- ระบุ file หรือ directory ต้นทาง (drive c = /cygdrive/c, drive d = /cygdrive/d) แล้วตามด้วย folder เช่น /cygdrive/c/Users/Administrator/Desktop
ลองทดสอบแล้ว case sensitive ไม่มีปัญหา ตัวใหญ่ตัวเล็กก็ได้
- ระบุ drive ปลายทาง (ในที่นี้ default ไว้ที่ /home/prnews/getfile) ท่านสามารถเปลี่ยนเป็น directory ได้ตามต้องการ
- รอ program ทำงานจนเสร็จ - Wakonlan เพื่อ สั่ง start client เปิดเครื่อง (ต้อง set bios ให้ wake on lan enable)
- เลือก menu Wakeonlan
- เลือก client 1 , 2 , 3 ... หรือ all client
- รอดูผล client เปิดเครื่อง - Changetime เพื่อ เพิ่ม ลด เวลาการ boot ของ แต่ละ menu (delay menu ปกติ ค่า default = 10 วินาที)
- เลือก menu Changetime
- เลือก client 1 , 2 , 3 ... หรือ all client
- ใ่ส่ตัวเลข menu ที่ต้องการ มีทั้งหมด 9 menu
- ใส่เวลา (วินาที) ที่ต้องการ delay menu - Sendkey เพื่อ ส่ง key ให้ client ทำให้ server เข้า control การทำงานต่าง ๆ เช่น ตามหัวข้อ 1-5,9-10
(เพื่อแก้ปัญหากรณีที่เราไปเลือกข้อ sshkeygen แล้วกดปุ่ม Y ที่คำถาม overwrite (y/n))
- เลือก menu Sendkey
- เลือก client 1 , 2 , 3 ... หรือ all client
- รอ program ทำงานจนเสร็จ - Stopdns เพื่อ ปิด dns (domain name server) ไม่ให้ใช้งาน Internet ชั่วคราวของ client
- เลือก menu Stopdns
- เลือก client 1 , 2 , 3 ... หรือ all client
- รอ program ทำงานจนเสร็จ - Startdns เพื่อ เปิด dns (domain name server) ให้ client ใช้งาน Internet ได้ตามปกติ
- เลือก menu Startdns
- เลือก client 1 , 2 , 3 ... หรือ all client
- รอ program ทำงานจนเสร็จ
ขั้นตอนเกี่ยวกับการทำงานในฝั่ง server
การสร้าง zone ใหม่
- มีได้ตั้งแต่ zone 1 ถึง zone 9
- ใน PSU12-Sritrang เวอร์ชั่นล่าสุด เพิ่มเมนูสำหรับการสร้าง zone ให้แล้ว ชื่อ makezonedialog
หรือ
ให้ login ด้วย user ที่มีสิทธิเป็น root (เช่น mama) หรือ sudo su - เพื่อเข้าไปในไดเรกทอรี /root
หากสร้าง zone 2 ใช้คำสั่งว่า sh makezone.sh 2
หากสร้าง zone 3 ใช้คำสั่งว่า sh makezone.sh 3
... และอื่นๆ เป็นต้น
การสำรองข้อมูลและการย้ายไฟล์เพื่อทำเครื่องใหม่
- การสำรองข้อมูลโคลนนิงใน PSU12-Sritrang เพื่อป้องกันเราแก้ไขหรือทำไฟล์ config เสียหาย
ให้ login ด้วย user ที่มีสิทธิเป็น root (เช่น mama)
sudo su - เพื่อเข้าไปในไดเรกทอรี /root
แล้วใช้คำสั่ง sh backup-server.sh
ตรวจสอบดูจะพบว่าข้อมูลโคลนนิงจะถูกคัดลอกมาเก็บไว้ที่ /root/backup-server แบ่งเป็นโฟลเดอร์ต่างๆ
เช่น ข้างในโฟลเดอร์ etc/dhcp จะมีไฟล์ เช่น dhcpd.conf_2013-12-17-12:50 เป็นต้น
etc/dhcp/
etc/freeradius/
home/papa/
var/lib/tftpboot/pxelinux.cfg/
var/lib/tftpboot/zone{1-9}/ เก็บค่าที่เคยกำหนดการบูต partition ของ PC - การย้ายไฟล์ข้อมูลเพื่อทำเครื่องใหม่ ให้คัดลอกไฟล์ไปเก็บยังที่ปลอดภัย เช่น External USB Hard disk ขนาดใหญ่ ดังนี้
/root/.ssh/id_?sa* เก็บค่า ssh key gen ของ server
/root/macinzone เก็บค่า MAC address ที่ป้อนไว้แบบ auto mode
/etc/dhcp/dhcpd.conf เก็บค่า MAC address คู่กับ IP
/var/www/cloning/zone{1-9}/* เก็บไฟล์ backup เรียกอีกอย่างว่า image ไฟล์ชนิด .tgz ของโคลนนิงอยู่ที่ /var/www/cloning แยกไปตาม zone
มีขั้นตอนแนะนำการคัดลอกไฟล์สำคัญ ดังนี้
ตรวจสอบด้วยคำสั่ง
fdisk -l
จะเห็นข้อมูล
sda คือ hard disk server (ดูให้แน่ใจ)
------sda1
------sda2
sdb คือ usb external
------sdb1
ทำการ mount usb external disk
mkdir -p /mnt/custom
mount /dev/sdb1 /mnt/custom
(1/4)คัดลอก dhcpd.conf
cd /etc/dhcp
cp dhcpd.conf /mnt/custom
(2/4)คัดลอก image
cd /var/www/cloning
cp -rp zone1 /mnt/custom
(3/4)คัดลอก id_dsa หรือ id_rsa
cd /root/.ssh
cp id_?sa* /mnt/custom
(4/4)คัดลอกไดเรกทอรี macinzone
cp -rp /root/macinzone /mnt/custom
นอกจากนี้เราอาจจะ backup ไฟล์ config ไว้ด้วยเพื่อดูว่าเคยตั้งค่าไว้อย่างไร ให้ทำดังนี้
cp -rp /root/backup-server /mnt/custom
ก่อนถอด usb external disk
umount /mnt/custom
เมื่อทำเครื่องใหม่เสร็จแล้ว ก็เอาโฟลเดอร์และไฟล์เหล่านี้ (1/4), (2/4), (3/4 และ (4/4) กลับไปใส่ตามโครงสร้างเดิมนั้น
รายงานการใช้เครื่อง
- ข้อมูลการทำรายงานการเข้าใช้เครื่อง PC
- ตำแหน่งที่เก็บไฟล์ข้อมูล /var/www/ticker
- สามารถนำข้อมูลในไดเรกทอรี /var/www/ticker/datalog นำไปทำเป็นสถิติการเข้าใช้งานได้
- เขียน shell script และปรับแต่งชื่อคณะที่มีอยู่จริง แล้วรัน shell script จะเป็นสถิติการเข้าใช้งาน ดูตัวอย่างที่ไฟล์ /root/scripts/report* - ได้จัดทำเป็นเว็บ PSU12-Sritrang Summary Report เข้าเบราว์เซอร์แล้วใส่ URL เป็น IP Address ของเครื่อง PSU12-Sritrang
การตั้งค่าดูสถิติจากข้อมูล log record (PSU12-Sritrang Summary Report)
- เข้าเมนู reporttickergenall -- generate all report เพื่อรันรอบล่าสุด
หรือ
สร้าง crontab ของ ubuntu server เพื่อให้รันทุกๆช่วงเวลาที่ต้องการ
ตัวอย่าง
พิมพ์ crontab -e
*/20 * * * bash /root/scripts/reporttickergenall.sh
หากเซิร์ฟเวอร์อัปเดตไม่ได้เพราะอะไร
- ในสถานที่บางแห่ง server ไม่ได้รับการยกเว้นต้องทำขั้นตอน user authentication ที่เครื่อง server ด้วยจึงออกเน็ตได้ เช่น
[เมนูที่เกี่ยวกับการ update server] ให้เลือกใช้คำสั่ง lynx หรือ w3m ในการ login ดังนี้
lynx www.google.com
ใส่ username และ password (กด Q ออก)
หรือ
w3m www.google.com
กด tab กด enter พิมพ์ user กด enter กด tab กด enter
พิมพ์ password กด enter กด tab กด enter (กด q ออก) - แล้วเข้า bash mainmenu.sh
เข้าเมนู ntpdatetimesetting, updateubuntu และ updatescripts
หมายเหตุ
ในบางแห่งยังไม่มีความพร้อม IPv6 ทำให้การอัปเดต Ubuntu หากวิ่งออกไปทาง IPv6 ก็จะอัปเดตไม่ได้ วิธีแก้ไขคือ
sudo edit /etc/apt/apt.conf.d/99force-ipv4
ใส่ข้อมูลบรรทัดข้างล่างนี้
Acquire::ForceIPv4 "true";
วิธีเปลี่ยนรูปภาพที่เห็นตอน Windows Client บูต
- รูป background ตอน windows client บูต ให้ใช้แฟ้มรูปภาพแบบ jpg ขนาด 640x480
นำไปทับแฟ้มเดิม /var/lib/tftpboot/sysresccd/psu-12.jpg และ /root/backuppxezone/penguinpom.jpg - แก้จากรูปนกเพนกวินเป็นรูปภาพที่ตัวเองเลือกมา เช่น /root/me.jpg
cp /root/me.jpg /var/lib/tftpboot/sysresccd/psu-12.jpg
cp /root/me.jpg /root/backuppxezone/penguinpom.jpg
ขั้นตอนการเพิ่มฮาร์ดดิสก์สำหรับเป็นพื้นที่ /var/www
- หลังจากปิดเครื่องใส่ฮาร์ดดิสก์เข้าไปเรียบร้อยแล้ว
- เปิดเครื่อง log in เข้าระบบด้วยผู้ใช้ mama พาสเวิร์ด 123456 ตอบคำถามให้เรียบร้อย
- เมื่อได้ prompt เป็น root@ubuntu:~# ให้พิมพ์คำสั่ง fdisk -l เพื่อดูว่า ฮาร์ดดิสก์ที่ใส่เพิ่มเข้าไปมีชื่อเรียกอย่างไร โปรดส้งเกตข้อความต่อไปนี้ Disk /dev/sdb doesn't contain a valid partition table ซึ่งแปลว่า ฮาร์ดดิสก์ที่ใส่เพิ่มเข้าไปคือ /dev/sdb
- พิมพ์คำสั่ง fdisk /dev/sdb
- กด n แล้ว enter
- กด p แล้ว enter
- กด 1 แล้ว enter
- enter อีก 2 ครั้งเพื่อยืนยันว่าจะใช้ทั้งลูก (ใช้ได้สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่ขนาดเล็กกว่า 2TB)
- กด w เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง
- fdisk -l อีกครั้ง จะพบว่ามี /dev/sdb1 เพิ่มมาแล้ว
- mkfs.ext4 /dev/sdb1 เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับใช้งาน
- ย้ายข้อมูลจาก /var/www มายังฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ ด้วยคำสั่ง
mkdir /mnt/newdisk
mount /dev/sdb1 /mnt/newdisk
mv /var/www/* /mnt/newdisk - ตรวจสอบด้วยคำสั่ง ls -la /var/www/* เพื่อดูว่ายังมีไฟล์ตกค้างอยู่หรือไม่ หากไม่มีแล้วสั่งคำสั่ง
umount /mnt/newdisk - แก้ไขแฟ้ม /etc/fstab โดยเพิ่มข้อความว่า /dev/sdb1 /var/www ext4 auto,defaults 0 1 เสร็จแล้วบันทึก
หรือหากจะใช้ uuid สามารถใช้คำสั่ง blkid /dev/sdb1 เพื่อดูค่า UUID ของ /dev/sdb1 แล้วนำมาใช้ได้เช่นเดียวกัน - สั่ง mount -a และสั่ง mount -l ดูว่ามี /dev/sdb1 ถูก mount ไปที่ /var/www หรือไม่...
การใช้งาน diskless ทำเครื่อง kiosk
- อ่านเรื่อง การใช้งาน diskless ด้วย PSU12-Sritrang
เมื่อเครื่องลูก boot แล้วค้างไม่ขึ้นรูป penguin
การแก้ปัญหา
- ให้ restart tftpboot ไปที่ mainmenu
- ใต้ section ชื่อ start/stop service menu ให้เลือก restarttftpd-hpaserver เพื่อ restart tftpd-hpa server
การเชื่อมต่อกับ RADIUS server
หากเราเตรียม Windows หรือ Linux Mint ต้นฉบับที่มีการใส่โปรแกรมให้ผู้ใช้งานต้อง login ด้วย username ของสถาบัน อาจเป็น ldaps ของ OpenLDAP หรือ ldaps บน Microsoft Active Directory ให้อ่านเรื่องข้างล่างนี้ เพื่อทำการตั้งค่าโปรแกรมนั้นให้เชื่อมต่อ FreeRADIUS ที่อยู่ในเครื่อง PSU12-Sritrang Server นี้ไปยัง database ดังกล่าวได้
- อ่านเรื่อง การใช้งาน radius server บน PSU12-Sritrang